Welcome to the blogger Sralchana Songroop

Welcome to the blogger Sralchana Songroop
(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

เนื้อหา

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (แผน IEP)
          - มีผู้เขียนแผนการสอนหลายคน คือคณะครู
          - ผู้ปกครองต้องมีการเซนยอมรับ
          - ต้องระบุวัน เวลาให้ชัดเจน
          - แผนมีระยะเวลา 1-2 เทอม

การเขียนแผน IEP
          - คัดแยกเด็กพิเศษ
          - มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าควรช่วยเหลือในสวนใดก่อน
          - ต้องมีการคุ้นเคยกับเด็กก่อน เห็นพฤติกรรมของเด็กก่อนจึงจะเขียนแผน IEP ได้

สวนประกอบของแผน IEP 
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล        
          
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ความสามารถของตน มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง

 ประโยชน์ต่อครู
            เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ให้ตรงตามความต้องการของเด็ก
และเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็กเพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็กเป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
                    ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนา       เด็กและทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกัน       อย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.     การรวบรวมข้อมูล ต้องมีรายงานทางการแพทย์ ต้องมีการประเมินและบันทึกของครูและผู้ปกครอง     
2.     การจัดทำแผนต้องมีการประชุมระหว่างพ่อแม่ ครูประจำชั้น ผู้อำนวยการหรือครูสอนพิเศษ ในเรื่องของจุดมุ่งหมายระยะสั้นและยาว การดำเนินกิจกรรมและแผนต้องมีการย้อมรับร่วมกันทุกฝ่าย
                        - จุดมุ่งหมายระยะยาว พูดแบบกว้าง ว่าเด็กจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
                        - จุดมุ่งหมายระยะสั้น เขียนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายระยะยาว มีการ      เขียนบรรยาย ว่าจะสอนใคร พฤติกรรมอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และเด็กสามารถ            ทำได้ดีขนาดไหน
3.     การใช้แผน เมื่อแผนเสร็จ ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้  แล้วน้ำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วแยกขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก แล้วจัดเตรียม สื่อกิจกรรมการสอน และต้องมีการสังเกตและรวมข้อมูลความสามารถของเด็ก
            - ขั้นตอนการพัฒนาเด็ก
            - ตัวชี้วัดเกี่ยวกับปัญหา
            - สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.     การประเมิน
- ประเมินภาคเรียนละครั้ง
- กำหนดวิธีการประเมิน



การประยุกต์ใช้
             - เมื่อได้ลงมือปฏิบัติเขียนแผนด้วยตนเองก็ทำให้เข้าใจในแผน IEP มากขึ้น
            - ได้รู้ขั้นตอน และกระบวนการในการเขียน แผน IEP มากขึ้น
- การเขียนแผน IEP ทำให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตนได้รับการศึกษาและฟื้นฟู
- การเขียนแผน IEP เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ให้ตรงตามความต้องการของเด็ก
            - การเขียนแผน IEP  ทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียน  รายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนา

การประเมิน
          ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน และมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึ้น
            เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน
            ผู้สอน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกสุภาพ อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา สอนอย่างเข้าใจง่าย  เป็นกันเอง ทำให้เข้าใจแผน IEP  มากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น