Welcome to the blogger Sralchana Songroop

Welcome to the blogger Sralchana Songroop
(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

            วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่มีการสอบร้องเพลง คืออาจารย์ให้นักศึกษาไปซ้อมร้องเพลงมาจำนวน 21 เพลง แล้วให้นักศึกษาจับฉลากว่า จะได้เพลงอะไรหลังจากนั้นก็ให้ออกมาร้องโดยที่ไม่ดูเนื้อเพลง จะได้คะแนนเต็ม 5 คะแนน แต่ถ้าหาก ให้เพื่อนช่วยร้อง หรือดูเนื้อเพลงในขณะร้องเพลงอาจารย์จะหักคะแนนอย่างละ 1 คะแนน ดิฉันจับฉลากได้เพลง นกเขา ตอนที่ได้ออกไปร้องเพลง ไม่ได้รู้สึกว่ามีความตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะมีความมั่นใจอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้วว่า ซ้อมร้องเพลงมาจากที่บ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่เมื่อได้ร้องไปเรื่อยๆ รู้สึกมีความกดดันเพิ่มมากขึ้นเนื้อจากร้องเพี้ยง ผิดคีย์ อาจารย์เลยให้ร้องใหม่หลายรอบ พร้อมกับเสียงขำของเพื่อนๆ แต่ในการสอบครั้งนี้ กิฉันก็ได้รู้ว่า เพื่อนในกลุ่มนี้มีความสามัคคีและมีนำต่อต่อกันเป็นอย่างมาก  ในขณะที่เพื่อนบางคนไม่สามารถร้องเพลงได้ เพื่อนๆที่นั่งอยู่ก็จะค่อยช่วยร้องเพลงเบาๆ เพื่อให้เพื่อนที่ออกไป ร้องเพลง ร้องได้ ซึ่งนี่ก็เป็นความประทับใจอีกอย่างหนึ่งในการสอบร้องเพลงครั้งนี้บรรยากาศในขณะที่เพื่อนสอบร้องเพลง


บรรยากาศขณะสอบร้องเพลง


            ความรู้สึกที่เรียนกับอาจารย์เบียร์มีความรู้สึกว่า เรียนสนุกสนานมาก เพราะอาจารสอนนักศึกษาอย่างเป็นกันเองเอาใจใส่นักศึกษามาก ทั้งในเรื่องของการเรียนหรือเรื่องอื่นๆ สอนมากกว่าในบทเรียน สอนเรื่องต่างๆ ในการใช้ชีวิต ส่วนในวิชาเรียนอาจารย์เบียร์ก็สอนอย่างต่อเนื่องทำให้การเรียนเข้าใจง่ายขึ้นมาก มีการสอนที่ไม่เคร่งเครียดและนักศึกษาก็เรียนได้อย่างเต็มที่ ถ้าปีต่อๆไป มีโอกาสก็อยากจะเรียนกับอาจารย์เบียร์อีกค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

เนื้อหา

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (แผน IEP)
          - มีผู้เขียนแผนการสอนหลายคน คือคณะครู
          - ผู้ปกครองต้องมีการเซนยอมรับ
          - ต้องระบุวัน เวลาให้ชัดเจน
          - แผนมีระยะเวลา 1-2 เทอม

การเขียนแผน IEP
          - คัดแยกเด็กพิเศษ
          - มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าควรช่วยเหลือในสวนใดก่อน
          - ต้องมีการคุ้นเคยกับเด็กก่อน เห็นพฤติกรรมของเด็กก่อนจึงจะเขียนแผน IEP ได้

สวนประกอบของแผน IEP 
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล        
          
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ความสามารถของตน มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง

 ประโยชน์ต่อครู
            เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ให้ตรงตามความต้องการของเด็ก
และเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็กเพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็กเป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
                    ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนา       เด็กและทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกัน       อย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.     การรวบรวมข้อมูล ต้องมีรายงานทางการแพทย์ ต้องมีการประเมินและบันทึกของครูและผู้ปกครอง     
2.     การจัดทำแผนต้องมีการประชุมระหว่างพ่อแม่ ครูประจำชั้น ผู้อำนวยการหรือครูสอนพิเศษ ในเรื่องของจุดมุ่งหมายระยะสั้นและยาว การดำเนินกิจกรรมและแผนต้องมีการย้อมรับร่วมกันทุกฝ่าย
                        - จุดมุ่งหมายระยะยาว พูดแบบกว้าง ว่าเด็กจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
                        - จุดมุ่งหมายระยะสั้น เขียนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายระยะยาว มีการ      เขียนบรรยาย ว่าจะสอนใคร พฤติกรรมอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และเด็กสามารถ            ทำได้ดีขนาดไหน
3.     การใช้แผน เมื่อแผนเสร็จ ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้  แล้วน้ำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วแยกขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก แล้วจัดเตรียม สื่อกิจกรรมการสอน และต้องมีการสังเกตและรวมข้อมูลความสามารถของเด็ก
            - ขั้นตอนการพัฒนาเด็ก
            - ตัวชี้วัดเกี่ยวกับปัญหา
            - สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.     การประเมิน
- ประเมินภาคเรียนละครั้ง
- กำหนดวิธีการประเมิน



การประยุกต์ใช้
             - เมื่อได้ลงมือปฏิบัติเขียนแผนด้วยตนเองก็ทำให้เข้าใจในแผน IEP มากขึ้น
            - ได้รู้ขั้นตอน และกระบวนการในการเขียน แผน IEP มากขึ้น
- การเขียนแผน IEP ทำให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตนได้รับการศึกษาและฟื้นฟู
- การเขียนแผน IEP เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ให้ตรงตามความต้องการของเด็ก
            - การเขียนแผน IEP  ทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียน  รายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนา

การประเมิน
          ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน และมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึ้น
            เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน
            ผู้สอน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกสุภาพ อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา สอนอย่างเข้าใจง่าย  เป็นกันเอง ทำให้เข้าใจแผน IEP  มากขึ้น



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

เนื้อหา

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
            เป้าหมาย
            - การช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ 
            - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
            - เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถทำได้
            - มีความอยากรู้อยากเห็น
            - อยากสำรวจและอยากทดลอง

การเลียนแบบ
            การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
                        - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม
                        - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
                        - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

            การรับรู้ การเคลื่อนไหว
            ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น และมีการตอบสอนอย่างเหมาะสมทันที

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

หมายเลข 1 เหมาะกับเด็กมากที่สุด
            - ต่อบล็อก
            - ศิลปะ (การใช้กรรไกร)
            - มุมบ้าน
            - ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ



ความจำ
            - จากการสนทนา
            - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
            - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
            - จำตัวละครในนิทาน
            - จำชื่อครู เพื่อน
            - เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
            จัดกลุ่มเด็ก โดย เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้เวลาสั้นๆและให้งานเด็กอย่างชัดเจน ติดชื่อเด็กตามที่นั่งให้เด็กได้เล่นหรือใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคยโดยบันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุดและครูควรรู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงานต้องมีอุปกรณ์ไว้เปลี่ยนใกล้มือและเตรียมทุกอย่างให้พร้อมโดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีบทเรียนให้สนุกสนานและต้องพูดในทางที่ดี

กิจกรรมร้องเพลง
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10ตัว




เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน
1วันได้ไข่ 1ฟอง

เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป1ตัว
ลูกแมว10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว


เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ (ซ้ำ *)



การประยุกต์ใช้
 - สามารถนำเพลงไปสอนเด็กปฐมวัยได้
 - สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้สอดคลองกับอาการหรือพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนได้
 - ได้รู้ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่สามารถช่วยในเรื่องของการควบคุมกล้ามเนื้อมือของเด็ก
- ทำให้เห็นความสำคัญและไม่ควรละเลยในการจัดกิจกรรมและพัฒนาเด็กพิเศษ
- ทำให้รู้จักพฤติกรรมของเด็กมากขึ้น เช่นการเรียนแบบพฤติกรรม ช่วงความสนใจต่างๆของเด็ก การทำตามคำสั่งและ การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการให้กับเด็กพิเศษ เพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มที




การประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน มีการคุยกับเพื่อนบ้างเป็นบ้างครั้ง ไม่ค่อยมีสมาธิ
เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน แต่มีการคุยกันบ้างเล็กน้อย

ผู้สอน - แต่กายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน อธิบายเข้าใจอย่างง่าย และเข้าใจนักศึกษามาก