Welcome to the blogger Sralchana Songroop

Welcome to the blogger Sralchana Songroop
(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 12.20 น.

เนื้อหา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
            - ไม่ได้มีสาเหตุที่เกิดจากพ่อแม่
            - ทักษะทางสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมแต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
            - ต้องปรับที่ตัวเด็กไม่ต้องปรับที่สภาพแวดล้อม

กิจกรรมการเล่น
            - เด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน สัมผัส ผลัก ดึง เช่น หากมีเด็กคนอื่นยืนขวางทางอยู่ ก็จะเดินชน ไม่ยอมบอกเพื่อนดีๆ ครูห้ามตำหนิเด็ก
            - เมื่อมีสิ่งกีดขวางมักจะ เตะ หรือเดินเหยียบ
ยุทธศาสตร์การสอน
            - เด็กพิเศษไม่รู้จักพิธีการเล่น แต่มักจะดูเพื่อน และเลียนแบบการเล่นจากเพื่อน
            - ครูต้องสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
            - ครูต้องมีการจดบันทึกพฤติกรรมเด็ก
            - ทำแผนเฉพาะเด็กแต่ละบุคคล (แผนIEP)

การกระตุ้นการเรียนแบบและการเอาแบบอย่าง
            - วางแผนกิจกรรมที่หลากหลาย
            - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก 2-4 คน (เด็กพิเศษ1:3 เด็กปกติ)
            - ให้เด็กปกติช่วยเหลือเด็กพิเศษและทำหน้าที่เหมือนครู

ครูปฏิบัติเด็กอย่างไรขณะเด็กเล่น
            - ครูต้องให้ความสนใจเด็ก ห้ามปล่อยเด็ก
            - เมื่อเด็กหันไปมองครู ครูต้องยิ้มให้เด็กเพื่อให้เด็กรู้ว่าครูให้ความสนใจ
            - ไม่ชมเด็กมากจนเกินไป แต่ต้องชมเด็กเมื่อทำตามเป้าหมายที่ครูได้กำหนดไว้
            - นำอุปกรณ์การเล่นมาเพิ่มให้เด็กเพื่อยื้อเวลาการเล่น ไม่ควรให้ของเล่นเด็กเยอะเกินไปจะเป็นการทำให้เด็กไม่เห็นคุณค่าของของเล่นและไม่รู้จักการแบ่งปันแต่ควรให้ของเล่นครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็กในกลุ่ม
            - เมื่อแบบ่งเด็กเป็นกลุ่ม ในเวลาที่ครูเดินดุเด็ก ครูต้องห้ามหันหลังให้เด็ก ต้องเดินรอบๆห้อง
            - การหันหลังให้เด็กอาจจะทำให้กิจกรรมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
            - ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่น
            - โดยใช้การพูด ครูต้องเป็นคนช่างพูด ชักชวน ครูต้องพูดนำเด็ก(บอกบท)
            - เด็กพิเศษมักจะดูเพื่อนเล่นกันเพราะกลัวเล่นไม่เป็นและทะเลาะกับเพื่อน
            - ครูต้องสร้างคมสนใจของเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กปกติอยากเล่นด้วย (เอ้าของเล่นมาล่อ)
            - เมื่อเด็กพิเศษเข้าไปในกลุ่มเพื่อนแล้ว ครูห้ามปล่อยเด็กเลย แต่ให้ครูเข้าไปดูซักระยะหนึ่ง
            - ประคองมือเด็กพิเศษทำกิจกรรม

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
            - ห้ามให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธ์เหนือกว่าเด็กปกติ
            - เด็กทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
            - อธิบายการเล่น สร้างกฎกติกาก่อนเล่นและอุปกรณ์การเล่น การสร้างกฎกติกาหรือเกม ให้เกจะทำให้เด็กได้เล่นครบทุกคน และจะทำให้เกิดการแบ่งปัน
           
กิจกรรมดนตรีบำบัด
            ให้นักศึกษาจับคู่กับเพื่อน ให้หยิบกระดาษมา 1 แผน และหยิบสีเทียนที่ชอบมาคนละ แท่ง หลังจากนั้นครูจะเปิดเพลง ให้คนที่ 1 ลากเส้นไปบนกระดาษตามเสียงดนตรีที่ได้ยิน คนที่ 2 ใช้สีเทียนจุดตามที่เพื่อนลากเส้นเป็นวงกลม


            เมื่อเพลงจบให้ทั้ง 2 ช่วยกันมองเส้นและจุดที่ร่วมกันวาดว่าเรามองเห็นเป็นรูปอะไรบ้าง แล้วระบายสีเพื่อให้เห็นเป็นรูปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น



ผลงานของเพื่อน 



กิจกรรมร้องเพลง



เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรูอาทิตย์ทอแสง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่งสว่างไปทั่วแหล่งล้า
บงเวลาว่าเป็นกลางวัน



เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน



เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคน
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม่มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน



เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู


เพลง รำวงดอกไม้
รำวง รำวง รวมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยเป็นมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย

                                                                                                ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
                                                                                                เรียบเรียง อ. คฤณ แจ่มถิ่น


การประยุกต์ใช้
             - สามารถนำเพลงไปสอนเด็กปฐมวัยได้
            - สามารถนำไปปฏิบัติต่อเด็กได้เพื่อให้เด็กพิเศษเกิดทักษะทางด้านสังคมที่ดีได้
             - ทำให้ทราบถึงการวางแผนกิจกรรมที่เอื้อต่อทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ
            - ทำให้ทราบการสอนของเด็กพิเศษและการสังเกตเด็กพิเศษอย่างเป็นระบบ

การประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน มีการคุยกับเพื่อนบ้างเป็นบ้างครั้ง
เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน แต่มีการคุยกันบ้างเล็กน้อย
ผู้สอน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน และสอนให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย มีการสอดแทรกกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นนักศึกษาให้เกิดความตื่นตัวในการเรียน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น