Welcome to the blogger Sralchana Songroop

Welcome to the blogger Sralchana Songroop
(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558


วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้นักศึกษาสอบข้อเขียนจำนวน 5 ข้อ*ในเรื่องการจัดประสบการณ์เรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย **



วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



            บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 12.20 น.

เนื้อหา
การส่งเสริมทักษะของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
                   เรียนรู้การดำรงชีวิตอย่างอิสระให้ได้มากที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองสามารถทำกิจวัตประจำวันได้ส่งเสริมให้ช่วยเหลือคนเองได้ และทำอะไรได้โดยที่ไม้ต้องพึ่งผู้อื่น
การสร้างความอิสระ
            - เด็กพิเศษเรียนรู้ผ่านการเรียนแบบคนรอบข้าง
            - ชอบดูแบบอย่างจากพี่ หรือบุคคลที่มีอายุมากกว่า จะมีอิทธิพลมาก
            - อยากทำงานตามความสามารถ
            - เด็กอยากช่วยเหลือตนเองมากกว่ามีคนมาช่วยเหลือ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
            - ให้เด็กพิเศษและเด็กปติช่วยเหลือกัน
            - การได้ทำด้วยตนเอง เช่น เมื่อเด็กผูกเชือกรองเท้าได้ในครั้งแรก เด็กก็จะผูกเชือกแล้วแกะใหม่ๆไปเรื่อยๆเพราะเด็กเกิดความภาคภูมิใจ (อาจเกิดได้ทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติ)
            - เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ และรู้สึกดี
            - เด็กจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
หัดให้เด็กทำเอง
            - ผู้ใหญ่ต้องไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เด็กทำอะไรไม่เป็น
            - พยายามสร้างสถานการณ์ให้เด็กไดช่วยเหลือตนเอง


จะช่วยเมื่อไหร่
            - ช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
            - ต้องสังเกตเด็กอยู่ตลอดหากเด็กมีปัญหาที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จริงๆ ครูต้องเข้าไปซักถามแล้วช่วยเด็กแบบย่อยงานให้เด็กทำทีละขั้นตอน
            - เด็กมักจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว ครูต้องไม่รำคาญเด็ก

ทักษะทางการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะทางการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)

ทักษะทางการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะทางการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ดับขั้นตอนการช่วยเหลือ

            - ต้องย่อยงานให้เป็น
            - ย่อยงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
            - เรียงลำดับขั้นตอน ห้ามข้ามขั้นตอน
            - ก่อนที่ครูจะเข้าไปถามเด็กหรือสนทนา เพื่อจะแก้ปัญหาให้เด็กครูจะต้องเตรียมคำตอบไว้เพื่อเป็นการตอบคำถามได้เด็กได้ทันดี และชะชาน



สรุป
            - ครูต้องให้เด็กพยายามช่วยเหลือตนเอง
            - ต้องอย่อยงานอย่างเป็นขั้นตอน
          - ความสำเร็จเล็กของเด็กจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความรู้สึกที่ดี
            - ทำให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองสามารถกล้าทำสิ่งต่างๆ
            - เด็กจะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อได้ช่วยเหลือตนเอง

กิจกรรม
           อาจารย์แจกกระดาษ แล้วให้นักศึกษาวาดใช้สีเทียนจุดตรง กึ่งกลางกระดาษ แล้วระบายสีรอบจุด เป็นวงกลมไปเรื่อยๆจะระบายสีของวงกลมให้มีขนาดใดก็ได้ตามความต้องการด้วยสีต่างๆแล้วตัดออกมาแปะบนตนไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ โดยวงกลมของแต่ละคนก็จะระบายสีแตกต่างกันไปซึ้งจะสามารถบอกลักษณะนิสัยของแต่ละคนได้



กิจกรรมร้องเพลง
ผู้แต่งอ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5

อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10ตัว
 

เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว

นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว




เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน

1วันได้ไข่ 1ฟอง



เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป1ตัว
ลูกแมว10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป

นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว


เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว

ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ (ซ้ำ *)



การประยุกต์ใช้
         - สามารถนำเทคนิคในการย่อยงานไปใช้ในการใช้ในการสนเพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
         - สามารถจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของเด็กได้
         - สามารถสอนให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
        - ทำให้เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น

การประเมิน
          ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน และมีความเข้าใจในเรื่องการย่อยงานมากขึ้น
            เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน อาจมีการคุยกันบ้างเล็กน้อย

            ผู้สอน - อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา สอนให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เป็นที่ปรึกษาได้เป็นอย่างดี มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพและเข้าใจสถานการณ์ของเด็กพิเศษมากขึ้น
          

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 12.20 น.

เนื้อหา

การส่งเสริมด้านต่างๆของเด็กพิเศษ

VDO รายการผลิบานผ่านมือครู
โรงเรียนอนุบาลพลอยภูมิ


          - การใช้ดนตรีอย่างมีจังหวะปละเป้าหมายจะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี
          - กิจกรรมเคาะจังหวะให้หยุดเมื่อเคาะจะทำให้เด็กรู้จักการรอคอยและจับจังหวะได้ดีขึ้น
          - การให้เด็กฟังจังหวะดนตรีฟังเพลง และทินทานประกอบจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก
          - กิจกรรมหยิบ ยก ส่ง จะทำให้เด็กรู้จักจังหวะมากขึ้น
          - การใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสมมติตนเองเป็นผึ้ง แล้วครูถามเด็กๆว่าผึ้งน้อยจะบินไปทำอะไร ทำให้เด็กมีจินตนาการกล้าแสดงออก
          - การกระโดรับส่งบอล เด็กพิเศษ และเด็กปกติ สามารถเล่นได้แต่ต้องประยุกต์ให้ไม่ง่าย ไม่ยากจนเกินไป
          - กิจกรรมของเด็กพิเศษและเด็กปติสอนไม่แตกต่างกันเพราะ เด็กพิเศษมีศักยภาพมากกว่าที่เราคิด


ทักษะทางภาษา
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษ
          - ต้องมีตัวหนังสือในห้องเยอะๆ
          - เพลงจะช่วยส่งเสริมเด็กพิเศษ
          - การให้เล่นแสดงบทบาทสมมติ
          - ให้ท้องคำคลองจอง
          - ไม่ต้องสนใจสิ่งที่เด็กผู้ผิด


การวัดความสามารถทางภาษา
          - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดหรือไม่
          - เด็กสมารถตอบสนองสิ่งที่ผู้อื่นพูดด้วยหรือไม่
          - ถามหาสิ่งต่างๆ
          - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆได้หรือไม่
          - ใช้คำศัพท์ของตัวเองหรือไม่
การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด
          - การพูดตกหล่น
          - การติดอ่าง
การปฏิบัติของครูหรือผู้ใหญ่
          - ไม่ต้องสนใจการพูดไม่ชัดของเด็ก
          - ห้ามบอกเด็กว่าให้พูดช้าๆ เมื่อเด็กพูดผิด
          - ห้ามขัดจังหวะเด็กขณะเด็กกำลังพูด
          - ไม่เปรียบเทียบเรื่องการพูดของเด็กกับผู้อื่น
          - เด็กพิเศษจะเน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียนแต่เด็กพิเศษจะเน้นแค่ 2 เรื่อง คือ การรับรู้และการแสดงออก
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
          - ครูต้องฟังเด็กเยอะๆ
          - ครูไม่ควรพูดกับเด็กยาวจนเกินไป
          - ครูต้องตอบเด็กอย่างฉับพลัน
          - ให้เวลาเด็กได้พูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
          - ครูกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของเด็ก
          - ใช้คำถามปลายเปิด
          - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
          - เน้นการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
          - ให้เด็กพิเศษทำกิจกรรมกลุ่ม
การสอนตามเหตุการณ์
          ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กไม่สามารถติกระดุมได้ ต้องถามเด็กว่าทำได้หรือไม่ ให้เด็กพูดคำว่ากระดุม ซ้ำๆ หรือถ้าเด็กทำไม่ได้จริงๆครูสามารถจับมือเด็กให้ติดกระดุม ได้เลย




กิจกรรม ดนตรีบำบัด



          อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วหยิบสีเทียนที่ชอบมาคนละ 1 แท่งหลังจากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลงให้นักศึกษาฟังแล้วให้ลากไปเส้นลงไปบนกระดาษขนาดใหญ่ที่แจกให้ โดยห้ามยกมือมือขึ้นต้องขีดเส้นไปเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะหยุด หลังจากนั้นให้นักเรียนร่วมกันระบายสีตามช่องต่างๆแต่ห้ามใช้สีซ้ำกันในช่องที่ใกล้กัน



การประยุกต์ใช้
            - ทำให้เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น
            - ทราบถึงการสอน และจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กพิเศษ
            - ทราบถึงการปฏิบัติต่อเด็กพิเศษ
            - ได้รู้วิธีการสอนเด็กตามเหตุการณ์ต่างๆที่เด็กพิเศษไม่สามารถทำได้
            - สามารถนำกิจกรรมไปสอนเด็กพิเศษได้เพื่อเป็นการฝึกสมาธิและทักษาทางด้านภาษา 

การประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน ไม่ค่อยมีสมาธิ
เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆบ้างคนไม่ค่อยตั้งใจเรียนด้วยจำนวนของเพื่อนเยอะทำให้เพื่อน แข่งกันพูดและพูดเสียงดัง ทำให้เพื่อนที่ตั้งใจเรียนไม่มีสมาธิเท่าที่ควร

ผู้สอน - เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา แต่การสอนครั้งนี้อาจารย์อาจจะดูแลนักศึกษาไม่ทั่วถึง ไม่ได้ยินคำถามที่นักศึกษาถาม เพราะมีนักศึกษาจำนวนมาก