Welcome to the blogger Sralchana Songroop

Welcome to the blogger Sralchana Songroop
(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


HAPPY BIRTHDAY TO อาจารย์เบียร์ ค่ะ

Wishing you many happy returns on your birthday.
May you have many more joyous days.






วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

เนื้อหา
กิจกรรม ให้นักศึกษาวาดภาพมือของตนเองข้างที่ไม่ถนัดให้เหมือนที่สุด


          เราไม่สามารถจดจำรายละเอียดมือของเราซึ้งอยู่กับเรามา 20 ปี ได้ เด็กก็ เช่น      กัน เราไม่สามารถบันทึกพฤติกรรมของเด็กได้ครบถ้วน เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นพฤติกรรมไหนของเด็กที่แปลกๆ เราต้องจดบันทึกตอนนั้นเลยห้ามจำมาบันทึก ครูจึงต้องมีกระดาษแผ่นเล็กๆไว้บันทึกพฤติกรรมของเด็ก

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


ทักษะของครูและทัศนคติ
          - ต้องมองเด็กทุกคนให้เท่าเทียมกัน ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ
          - ครูที่สอนเด็กพิเศษจะต้องอมรการอบรม สัมมนา

การฝึกเพิ่มเติม
          - อบรมระยะสั้น การสัมมานา
          - สื่อต่าง ๆ
          - หนังสือ
          - แหล่ง IT
          - โทรทัศน์ครู

การเข้าใจภาวะปกติ
          - เด็กมีความคล้ายกันมากกว่าแตกต่างกัน
          - ครูต้องปฏิบัติกับเด็กทุกคนให้เท่าเทียมกัน
          - มีความเข้าใจเด็กแต่ละคน
          - มองเด็กให้เป็นเด็ก ไม่ใช่มองแตกต่างออกไป
          - ต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน (ชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุลจริง)

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
          - ครูเข้าใจความแตกต่างของเด็ก ทำให้ครูมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
          - ห้ามวินิจฉัยเด็กแล้วเอาไปพูด จะทำให้คนอื่น ๆ มองเด็กคนนั้นเปลี่ยนไป
          - พยายามพูดด้านดีของเด็ก
          - ชมเด็กก่อนแล้วค่อยติ

ความพร้อมของเด็ก
          - วุฒิภาวะ เช่น อายุ ช่วงชั้น
          - แรงจูงใจ ต้องรู้จักโน้มน้าวเด็ก
          - โอกาส เด็กมีโอกาสในการเรียนต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย
          - อย่าให้ทำกิจกรรมที่ง่าย หรือ ยากจนเกินไป
          - ต้องคิดเสมอว่าสามารถพัฒนาเด็กได้

การสอนโดยบังเอิญ
          - เด็กถามครูในช่วงว่างๆ
          - การสอนโดยบังเอิญเกิดจากเด็กมีปัญหา จึงเข้ามาถามครู
          - เมื่อเด็กทำกิจกรรมครูไม่จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเด็ก
          - เมื่อเด็กมีความไว้วางใจจริงๆ จึงถาม
          - เด็กจะเข้ามาหาเมื่อไรก็ได้
          - ต้องให้ความสนใจเด็ก ห้ามรำคาญเด็ก
          - ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกไม่น่ากลัว
          - อาจจะเป็นคำถามเดิมๆ
          - ครูต้องมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ
          - อย่าสอนนาน และต้องแบ่งเวลาให้ดี

อุปกรณ์
          - สื่อต้องไม่เป็นสื่อที่แบ่งแยกเพศ เช่น บล็อก แป้งโด จิ๊กซอ
          - สื่อแบบแบ่งแยกเพศ เช่น ตุ๊กตา หุ่นยนต์ ดาบ ปืน มีด (ไม่เหมาะกับเด็กพิเศษ)
          - ต้องเป็นของเล่นที่ไม่ตายตัว
          - ต้องจับคู่บัดดี้ให้เด็ก เช่น เด็กดาวน์ คู่กับเด็กที่สาทารถดูแลเด็กดาวได้
          - เด็กปกติจะช่วยเหลือเด็กพิเศษ จะมีการเหลือบมองกัน

ตารางประจำวัน
          - เด็กพิเศษไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนตาราง
          - ต้องทำกิจกรรมที่สลับกัน กิจกรรมเงียบๆ และกิจกรรมเคลื่อนไหว
          - ควรคำนึงถึงเวลาในการทำกิจกรรม

ความยืดหยุ่น
          - แผนสามารถเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
          - ยอมรับความสามารถเด็ก
          - ตั้งจุดประสงค์แล้วแก้ไขให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านบวก

การใช้สหวิทยากร
          - ใจกว้างต่อตำแนะนำ จากบุคคลที่ทำอาชีพอื่น (ไม่จำเป็นต้องเชื่อ 100%)
          - สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

เด็กทุกคนสอนได้
           อย่ามองว่าโกไร้ความสามารถ ถ้ามองว่าเด็กไร้ความสามารถจะทำให้เด็กขาดโอกาสได้

วิธีการเสริมแรง
          เด็กต้องการแรงเสริมที่ดีจากผู้ใหญ่ คือ การยิ้ม การใส่ใจ การกอด การสัมผัส คำชม เด็กจะชอบให้ยืนใกล้ๆ ให้ความช่วยเหลือ มีส่วนร่วมกับเด็ก เป็นต้น เวลาที่เด็กทำกิจกรรม ครูไม่ควรเข้าไปถามควรให้เด็กทำกิจกรรมเสร็จก่อน เพราะ การที่ครูเข้าไปซักถามในขณะที่เด็กไม่ได้เกิดปัญหา หรือกำลังทำกิจกรรมได้อย่างราบรื่นอยู่ จะทำให้เด็กเปลี่ยนความคิด


หลักการเสริมแรง
          - เสริมแรงเฉพาะที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ครูตั้งจุดประสงค์ไว้
          - ควรชมทันที่ที่ทำพฤติกรรมนั้น

การแนะนำ หรือบอกบท
          - การย่อยงาน คือการแบ่งงานออกเป็นขั้นตอน
          - เมื่อเด็กทำได้ด้วนตนเองได้มากขึ้น ก็ควรจะย่อยงานน้อยลง
          - ครูอาจจะสอนในขั้นที่ 1 แล้วครูก็ช่วยในขั้นอื่นๆ แล้วสอนทีละขั้น (สอนจากข้างหน้าไปข้างหลัง)
          - เด็กทำเองในขั้นสุดท้าย ขั้นอื่นครูทำให้  (สอนจากข้างหลังมาข้างหน้า)

การลดหรือหยุดแรงเสริม
          - งดแรงเสริมเมื่อเด็กทำไม่เหมาะสม
          - เอาอุปกรณ์ออกไปจากเด็กทันที
          - เอาเด็กออกจาการเล่น
          - ให้เด็กเข้ามุม (นาที/อายุ)

** หมายเหตุ ครูต้องมีความคงเส้นคงวา คือต้องมีความกระตือรือร้นในการสอนให้ได้ทั้งเทอม **


การประยุกต์ใช้
 - สามารถนำเพลงไปสอนเด็กปฐมวัยได้
 - เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น
- สามารถนำการเสริมแรงไปใช้กับเด็กได้
 - ได้รู้เทคนิคต่างๆในการเสริมแรง
- เข้าใจหลักในการเสริมแรงมากขึ้น

การประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน
เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน แต่มีการคุยกันบ้างเล็กน้อย
ผู้สอน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา อาจารย์มีความเข้าใจนักศึกษา มีการพูดที่เป็นกันเอง บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน








         

         


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน**


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.

**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน**





บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.
เนื้อหา
   บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
1.           ครูไม่ควรวิจัยเด็ก เพราะการวินิจฉัยเป็นหน้าที่ของแพทย์ แต่ครูควรสังเกตเด็ก อาการต่างๆของเด็ก
2.           ครูไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก กับเด็กทุกประเภท เพราะเด็กอาจจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
3.           ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ แต่ครูควรบอกในสิ่งที่เด็กทำได้ เพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษมันรู้อยู่แล้วว่าลูกมีปัญหา พ่อไม่ไม่ต้องการให้ครูมาตอกย้ำ แต่ครูควรบอกแนวทางในการพัฒนาเด็กกับพ่อแม่
4.           ครูควรสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
5.           การสังเกตอย่างเป็นระบบ คือครูมองเห็นเด็กในภาพรวม พฤติกรรมที่เด็กทำได้ หรือ ทำไม่ได้
6.           การตรวจสอบ สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
7.           ข้อควรระวังในการปฏิบัติเมื่อเด็กมีปัญหาเยอะครูต้องแก้ปัญหาใหญ่ก่อนและแก้ปัญหาข้อควรระวังให้ตรงจุดปัญหาใดมองข้ามได้ก็ควรมองข้ามในสิ่งที่ไม่ได้เกิดบ่อยๆ
8.           การบันทึกการสังเกต
8.1    การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งที่เกิดพฤติกรรม จำนวนครั้งในแต่ละวัน และระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
8.2    การบันทึกต่อเนื่อง คือการบันทึกโดยระเอียด บรรยายตามความจริง และก้ามใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปในการบรรยาย
8.3    การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกสั้นๆลงในบัตรเล็กๆ ของพฤติกรรมเด็กในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
9.           การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ครูควรเอาใจใส่เด็ก ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องของเด็ก และไม่ควรจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบในเด็กทุกคนเป็นสิ่งผิดปกติ
10.  การตัดสินใจ ครูต้องตัดสินใจด้วยความรอบคอบ และกาปัญหานั้นไม่ได้ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กครูก็ไม่ต้องแก้ไข

กิจกรรม
ให้นักศึกษาวาดรูปดอกทานตะวันที่เห็นในจอโปรเจคเตอร์แล้วให้บรรยายตามภาพที่เห็น



อาจารย์ให้ร้องเพลงร่วมกับเพื่อนๆ เพลงฝึกกายบริหาร


                                       เพลง ฝึกกายบริหาร
                          ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                     ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                     รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
                     รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



การประยุกต์ใช้
          - เป็นแนวทางในปฏิบัติต่อเด็กพิเศษ อย่าถูกต้อง
            - เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อพ่อแม่ของเด็กพิเศษ
            - สามารถนำความรู้ต่างๆไปใช่สอนเด็กพิเศษได้
            - เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น
            - จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กพิเศษได้

การประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน และ ตั้งใจร้องเพลงให้ตรงคีย์
            เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน ทุกคนสนุกสนานในชั้นเรียนมาก

            ผู้สอน - เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ อาจารย์สอนเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน สอนสนุก และเป็นกันเองมากค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 วันอังคาร เวลา 08.30 – 12.20 น.
เนื้อหา
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป
- การศึกษาพิเศษ คืออยู่ในสถานที่เฉพาะทางประเภทเดียวกัน
- การศึกษาแบบเรียนร่วม
- การศึกษาแบบเรียนรวม จะขยายโอกาสให้เด็กมากกว่า การศึกษาแบบเรียนร่วม


การศึกษาแบบเรียนร่วม คือจัดให้เด็กพิเศษได้เข้าไปเรียนกับเด็กปกติโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตร ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็กปกติ โดยมีการแบ่งการเรียนร่วมดังนี้ คือ การเรียนร่วมบางเวลาและการเรียนร่วมเต็มเวลา
เรียนร่วมบางเวลา คือจัดให้เด็กพิเศษมาเรียนร่วมกับเด็กปกติบางเวลา เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปลานกลาง – มาก ถูกส่งมาจากหน่วยงานโดยกิจรรมที่เด็กพิเศษสามารถเข้าร่วมได้นั้นคือ วิชาศิลปะ วิชาดนตรี กิจกรรมเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมกลางแจ้ง เด็กพิเศษไม่เหมาะที่จะมาเรียนกับเด็กปกติในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
การเรียนร่วมเต็มเวลา คือจะจัดให้เด็กพิเศษอยู่ร่วมกับเด็กปกติตลอดเวลาที่อยู่โรงเรียนโดยถูกส่งมาจากหน่วยงาน ไม่มีการแบ่งแยก ได้ความรู้เท่ากัน ครูที่สอนเด็กได้จะต้องเป็นครูที่มีความยอมรับในตัวเด็ก ครูจะต้องสอนให้เด็กยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ สอนให้เด็กปกติยอมรับเพื่อน ที่สำคัญครูจะต้องบอกให้เด็กรู้ว่าเพื่อนไม่สบาย เด็กๆต้องช่วยเหลือเพื่อน


            การศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาที่กล่าวไว้ว่า Education for all
(การศึกษาสำหรับทุกคน) คือ เด็กเข้ามาร่วมเรียนกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา แต่จะจัดบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละคน การศึกษาแบบเรียนรวมจะเรียนทุกวัน ไม่ได้มาจากหน่วยงานใด เปรียบเสมือนเด็กคนหนึ่งในโรงเรียน และทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการ อยู่ในสังคมต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้หากได้รับโอกาสที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก เด็กสามารถเลือกโรงเรียนได้ โดยที่โรงเรียนไม่มีสิทธ์ปฏิเสธเด็ก
            Wilson , 2007 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก สอนให้ทุกคนช่วยเหลือกัน และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม กิจกรรมทุกชนิดต้องเป็นกิจกรรมที่ทุกคนสามารถเรียนได้ คือไม่ง่ายจนเด็กปกติเบื่อหน่ายและไม่ยากจนเด็กพิเศษทำไม่ได้

“ Inclusive Education is Education for all
In involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual ”
                        แปล การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาของทุกคน
 ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาตั้งแต่เด็กแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน


ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
            - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้
            - เด็กพิเศษสามารถสอนได้
            - ต้องจัดการการศึกษา โดยต้องให้มีอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ให้น้อยที่สุด

การประยุกต์ใช้
 - สามารถนำเทคนิคต่างๆไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้
 - สามารถจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของเด็กได้
 - สามารถสอนให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
 - ทำให้เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น

การประเมิน
          ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน และมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึ้น
            เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างการเรียนการสอน

            ผู้สอน - อาจารย์มีความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน มีความตั้งใจอย่างมากที่จะมาสอนนักศึกษา สอนให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เป็นที่ปรึกษา และเป็นผู้นำทางการศึกษาที่มากเลยค่ะ